December 24, 2024

สรุปรายงานการประชุมประจำ 2 เดือน ร่วมระหว่างบริษัทพันธมิตรของ Hub of Knowledge

รายงานการประชุมร่วมกับบริษัททุกๆ 2 เดือน HUB ปี 1


 

บันทึกรายงานการประชุมปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยและบริษัทฯ ภายใต้โครงการ HUB of BIOCAT ครั้งที่ 2/2566

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566 (ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM)

ผู้เข้าประชุม นักวิจัยภาครัฐ 8 คน ,นักวิจัยภาคเอกชน 11 คน

ที่ประชุมได้พิจารณาข้อมูลความสนใจของสมาชิกภาคอุตสาหกรรมและได้กำหนดหัวข้อที่มีความสนใจร่วมกัน ดังนี้

โครงการย่อย

หัวข้อที่มีความสนใจร่วมกัน

1. การเปลี่ยนเอทานอล Existing research
2. การเปลี่ยนน้ำตาลและชีวมวล Biomass pretreatment/fractionation/catalytic conversion
3. การเปลี่ยนไบโอดีเซล Biolubricants
4. การเสื่อมตัวเร่งปฏิกิริยาในของเหลว Catalyst deactivation in liquid phase
5. การวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาขั้นสูง Characterization techniques at synchrotron: Application

 

บันทึกรายงานการประชุมปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยและบริษัทฯ ภายใต้โครงการ HUB of BIOCAT ครั้งที่ 3/2566

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM)

ผู้เข้าประชุม นักวิจัยภาครัฐ 7 คน ,นักวิจัยภาคเอกชน 10 คน ,สำนักประสานฯ 4 คน

สรุปผลการประชุม มีการให้ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการวิจัย ดังนี้

  • ด้านเอทานอล - ได้รายงานความก้าวหน้าเรื่อง “การเร่งปฏิกิริยาของเอทานอลไปเป็นสารเคมีตัวอื่น”
  • ด้านไบโอดีเซล - ได้รายงานความก้าวหน้าเรื่อง “Palm Oil FAMEs as feedstocks for Bio-based Fuel & Chemicals”
  • ด้านน้ำตาลจากชีวมวล - ได้รายงานความก้าวหน้าเรื่อง “Introduction to Biorefinery Concepts towards BCG Economy”
  • ด้านการเสื่อมของตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการ - ได้รายงานความก้าวหน้าเรื่อง “การเสื่อมของตัวเร่งปฏิกิริยาในของเหลว”
  • ด้านการวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาขั้นสูง - ได้รายงานความก้าวหน้าเรื่อง “Advanced Characterization Techniques for Catalyst Applications”

 

บันทึกรายงานการประชุมปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยและบริษัทฯ ภายใต้โครงการ HUB of BIOCAT ครั้งที่ 4/2566

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 (ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM)

ผู้เข้าประชุม นักวิจัยภาครัฐ 8 คน ,นักวิจัยภาคเอกชน 8 คน ,สำนักประสานฯ 1 คน

รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการวิจัยแต่ละด้าน

ด้านเอทานอล - ได้รายงานความก้าวหน้า 2 เรื่อง

  • ตีพิมพ์บทความวิจัย 1 เรื่อง
  • จัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับตัวเร่งปกิกิริยาระหว่างประเทศไทยกับประเทศใต้หวัน หัวข้อ “TW-TH bilateral catalysis symposium 2023” ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566

ด้านไบโอดีเซล ได้รายงานความก้าวหน้า 1 เรื่อง

  • ได้รายงานความก้าวหน้าเรื่อง “Palm Oil FAMEs as feedstocks for Bio-based Fuel & Chemicals” ครั้งที่ 2

ด้านน้ำตาลจากชีวมวล - ได้รายงานความก้าวหน้า 5 เรื่อง

  • Introduction to Biorefinery Concepts towards BCG Economy
  • จัดสัมมนาวิชาการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2566
  • การวางแผนเดินทางไปประเทศเกาหลีใต้
  • รายงานการเดินทางไปต่างประเทศ
  • ตีพิมพ์บทความวิจัย 3 เรื่อง

ด้านการเสื่อมของตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการ - ได้รายงานความก้าวหน้า 3 เรื่อง

  • ตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับ Tier 1 2 เรื่อง
  • Sunergy initiative Europe
  • High – throughput Experimentation construction

 

บันทึกรายงานการประชุมปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยและบริษัทฯ ภายใต้โครงการ HUB of BIOCAT ครั้งที่ 5/2566

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ณ ห้องประชุมกรรมการคณะ ชั้น 2 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้เข้าประชุม นักวิจัยภาครัฐ 18 คน ,นักวิจัยภาคเอกชน 9 คน ,สำนักประสานฯ 3 คน ,สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 1 คน

สรุปผลการประชุม คือ

  • ให้ข้อมูลถึงประโยชน์ที่ได้เดินทางไปแสวงหาความร่วมมือประเทศมาเลเซีย พบว่าประเทศมาเลเซียไม่ได้สนใจทำวิจัยที่เน้นการเปลี่ยนน้ำมันปาล์มมาสนับสนุนอุตสาหกรรมและปิโตรเลียม และปิโตรเคมี
  • เผยแพร่ให้ที่ประชุมทราบถึงเว็บไซต์ของ HUB

 

บันทึกรายงานการประชุมปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยและบริษัทฯ ภายใต้โครงการ HUB of BIOCAT ครั้งที่ 6 1/2567

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567

ณ ห้องประชุม 1106 ชั้น 11 อาคาร 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้เข้าประชุม นักวิจัยภาครัฐ 14 คน ,นักวิจัยภาคเอกชน 7 คน ,สำนักประสานฯ 2 คน ,สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 1 คน

สรุปผลการประชุม คือ

  • การให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาถ่านกัมมันต์สำหรับอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่
  • รายงานการสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับนักวิจัยประเทศใต้หวัน และประเทศบรูไน
  • รายงานประสบการณ์ที่ไปดูโรงงานผลิตเอทานอลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

บันทึกรายงานการประชุมปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยและบริษัทฯ ภายใต้โครงการ HUB of BIOCAT ครั้งที่ 7 2/2567

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 (ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM)

ผู้เข้าประชุม นักวิจัยภาครัฐ 11 คน ,นักวิจัยภาคเอกชน 11 คน ,สำนักประสานฯ 2 คน

สรุปผลการประชุม คือ

การกำหนดหัวข้อวิจัยร่วมกันในการพัฒนา Bio drilling fluid จาก Acid oil ที่มาจากการผลิตน้ำมันปาล์ม โดยจะเป็นความร่วมมือระหว่างผู้ใช้ ผู้ผลิต และผู้ที่มีแหล่งวัตถุดิบในการผลิต


 

บันทึกรายงานการประชุมปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยและบริษัทฯ ภายใต้โครงการ HUB of BIOCAT ครั้งที่ 2/2567

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ห้องประชุม 1106 ชั้น 11 อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายงานผลการดำเนินงานปีที่ 1

1) กลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน น้ำตาล และเอทานอล เจอปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง

2) ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีปัญหา แต่ยังไม่มาก อีกทั้งยังไม่มีความแน่ชัดในการลงทุน

3) ในขณะที่นักวิจัยไทยมีศักยภาพในการพัฒนากระบวนการทางวิศวกรรมเคมีแต่ไม่สามารถขึ้นเป็นต้นแบบได้เนื่องจากขาดผู้ใช้งาน ผลิตภัณฑ์ที่น่าจะมีความเป็นไปได้สำหรับการพัฒนาในประเทศไทยคือ niche product

กล่าวโดยสรุป การสร้างเครือข่ายสำหรับอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ ขึ้นอยู่กับความต้องการองค์ความรู้ทางด้านนั้นๆ จากอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ ที่เชื่อมต่อกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมี

รายงานวิจัยความก้าวหน้า Drilling Fluid

ได้ทำการ Treat Acid Oil เป็น B100 และนำมาทำ Hydrodeoxygenation เพื่อนำไปใช้เป็น Drilling Fluids ทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้ความรู้ในการพัฒนา Bio drilling fluid ที่มาจากของเหลือใช้ของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน


 

บันทึกรายงานการประชุมปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยและบริษัทฯ ภายใต้โครงการ HUB of BIOCAT ครั้งที่ 4/2567

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ณ ห้องประชุม 213 ชั้น 2 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายงานความก้าวหน้าแผนงานปีที่ 2

งานวิจัยหลักที่จะทำในปีนี้ คือ การใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ทางภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีส่วนร่วม โจทย์วิจัยที่ร่วมปรึกษาหารือกันช่วงนี้ คือ เรื่อง Bio Drilling Fluid ที่ทางสมาชิกมีความเห็นด้วย ทางโครงการยังเน้นการทำกิจกรรมแบบเดิมเพื่อให้สมาชิกในโครงการได้รับประโยชน์มากสุด

1.  ความคืบหน้าโครงการ BIOPOLIS

  • นำเสนอความก้าวหน้าเกี่ยวกับเรื่อง Biorefinery Pilot Plant @EECi

2. ความคืบหน้างานวิจัย การเปลี่ยนอนุพันธ์ปาล์มเป็น Drilling Fluid นำเสนอทั้งหมด 3 เรื่อง ดังนี้

  • ได้นำเสนอความก้าวหน้าเรื่อง Plam Oil FAMEs as feedstocks for Bio-based Fuel & Chemicals ที่จะทำร่วมกันกับบริษัทสมาชิก
  • ได้นำเสนองานวิจัยที่พึ่งเริ่มทำในระยะเริ่มต้น คือ เรื่อง Methyl Plamitate/PFAD to Bio-Wax
  • ได้นำเสนอความก้าวหน้าเกี่ยวกับงานสัมมนาที่จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 เรื่อง Catalytic Biorefinery International Conference 2025 (CBIC2025) โดยได้ Plenary Lecture และ Keynote Speaker ครบแล้ว ซึ่งตอนนี้ได้มีเว็บไซต์ของงานสัมมนา จะเปิดระบบเปิดลงทะเบียนเข้างานช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2567

3. การไปร่วมประชุม International Congress on Catalysis และการเยี่ยมชมสถาบันวิจัย IFPEN ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 14 – 19 กรกฎาคม 2567 ได้นำเสนอ 2 เรื่อง ดังนี้

  • ไปร่วมประชุม ว่ามีผู้บรรยายเกี่ยวกับงานวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับ Biorefinery มาก
  • ไปเยี่ยมชมสถาบันวิจัย IFPEN นำทีมโดย ศ.ดร.ปิยะสาร หัวหน้าโครงการ และคณะนักวิจัยในโครงการ ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและพัฒนาไปใช้จริง สถาบันวิจัยแห่งนี้มี Catalytic Reactor ขนาด 100 ยูนิต และได้ไปเยี่ยมชมจุดที่ทำ Catalyst ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ในการเตรียม Catalyst และได้มีการเจรจาความร่วมมือ แนะนำโครงการ HUB ให้ทางสถาบันวิจัยรู้จัก

4. การวางแผนเยี่ยมชมอุตสาหกรรมและ Pilot Plant ดังนี้

  • 19 – 20 สิงหาคม 2567 เดินทางไปเยี่ยมชม บริษัท มิตรผล จำกัด ที่จังหวัดชัยภูมิ
  • 26 สิงหาคม 2567 เดินทางไปเยี่ยมชม i2P บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด
  • ช่วงเดือนกันยายน 2567 เดินทางไปเยี่ยมชม บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จำกัด
  • ช่วงเดือนกันยายน 2567 เดินทางไปเยี่ยมชม TOP-PPC Pilot Plant
  • ช่วงเดือนกันยายน 2567 เดินทางไปเยี่ยมชม NANOTEC Pilot Plant

 

2023 © Hub of Knowledge All rights reserved.

crossmenu